ปริศนา มัฌชิมาบรรพต พิจิตรกำเนิดสุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัควรัตต์ อินทสระสายสุดา ปั้นตระกูล2025-02-082025-02-082023-11-30วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 10 ฉบับที่ 11, หน้า 278-287.https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2943บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จํานวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า1) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียน (SDU 4S) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา รายข้อเนื้อหาความเหมาะสมของเนื้อหามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการติดตั้งใช้งานและการล็อกอินเข้าใช้ระบบ รายข้อการติดตั้งแอปพลิเคชันด้านรูปแบบการนําเสนอมีข้อความน่าสนใจและด้านการจัดการแอปพลิเคชัน 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่า ผู้เรียนที่มีอายุแตกต่างกันมีการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05thการประเมินความพึงพอใจแอปพลิเคชันการวางแผนทางการเรียนการประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตArticle