รวี ศิริปริชยากร2025-05-162025-05-16https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6718การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการออกแบบหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน Roomie ตามองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาของนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการชุมชนเป็นฐานและการใช้แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบสถานศึกษาปฐมวัยตามองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก และ 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการชุมชนเป็นฐานและการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก จำนวน 119 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย (School Curriculum in Early Childhood Education) รหัสวิชา 1072204 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ห้อง NA จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน 2) แบบทดสอบผลการเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบ หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 3) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน Roomie ตามองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการออกแบบสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน Roomie ตามองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก พบว่า 1) ด้านองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สะท้อนจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของชุมชนในแต่ละองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความถูกต้องของเนื้อหาแต่ละองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย 3.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มาก 2) ด้านทักษะการออกแบบสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ลักษณะการออกแบบห้องจัดวางเฟอร์นิเจอร์ และการเลือกสีมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถานศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย 3.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เสียงบรรยายประกอบ มีการลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหาได้ชัดเจนสอดคล้องกับองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย 3.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มาก และ 3) ด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทักษะการร่วมมือ ทำงานเป็นทีม: ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่ม และสมาชิกระหว่างกลุ่มจนบรรลุผล สำเร็จ มีค่าเฉลี่ย 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สาเหตุ ค้นหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา สรุปคำตอบผ่านการลงมือปฏิบัติในชุมชนและห้องเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.58 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับปฏิบัติได้มากที่สุด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการชุมชนเป็นฐานและการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยก่อนการจัดการเรียนรู้ นักศึกษาได้ทำแบบทดสอบก่อน เรียน พบว่าคะแนนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.8 โดยคิดเป็นร้อยละ 42.11 ซึ่งหลังการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการชุมชนเป็นฐานและการใช้แอปพลิเคชัน พบว่า นักศึกษา มีคะแนนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.08 โดยคิดเป็นร้อยละ 74.47 ซึ่ง สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 3. ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการชุมชนเป็นฐานและการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯนครนายก อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ในข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนการสอน เหมาะสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อหาเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขั้นตอนการเรียนการสอน ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุดแอปพลิเคชัน -- ปฐมวัยการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยด้วยแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก