เพียงจิตร เงื่อนไข่น้ำธิติ มหาเจริญ2025-02-202025-02-202021-02-15เงื่อนไข่น้ำ เ., & มหาเจริญ ธ. (2021). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(1), 121–133. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/4313027-6675https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3975บทความวิจัย ตีพิมพ์ใน วารสารวิชการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021)การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะและประสิทธิภาพของ ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะจากผ้าที่ปนเปื้อนคราบเลือดเพื่อช่วยในการตรวจคราบเลือดเบื้องต้น ในการทดลองครั้งนี้ใช้เลือดจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่มีผลการทดสอบเลือดว่า มีค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่างกัน 3 ระดับ โดยนำเลือดมาหยดลงบนผ้าตัวอย่างและเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดจึงนำมาทดสอบกับชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะและทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะมีความจำเพาะต่อเลือดมนุษย์ โดยให้ผลบวกกับเลือดมนุษย์เท่านั้นและให้ผลลบกับเลือดสัตว์ (หมู) ในด้านความไว พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความไวต่อเลือดมนุษย์มากกว่าชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะ โดยชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระสามารถตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางได้ถึงระดับความเข้มข้นที่ 1 : 20,000 ในขณะที่ชุดตรวจเลือดแผงในปัสสาวะให้ผลตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางถึงระดับความเข้มข้นที่ 1: 2,000 ในส่วนของผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะเพื่อตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 โดยการเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะ จากผ้า ตัวอย่าง ระยะเวลาและค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือด พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความประสิทธิภาพในการตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดมากกว่าชุดตรวจปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01thชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะเส้นใยผ้าฮีโมโกลบินการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดArticle