Chananbhorn Thongroteอรรถ ขันสีอัศพงษ์ อุประวรรณา2025-02-212025-02-212022-12-30https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4050ข้าวเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์เชิงอาหารได้หลากหลายและมีประโยชน์แตกต่างกันทั้งสายพันธุ์และรูปแบบการใช้ เช่น ข้าวเต็มเมล็ด ข้าวงอก และใบข้าวอ่อน เป็นต้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและปัจจัย (อายุของใบข้าวอ่อน, สายพันธุ์ข้าว และสภาวะการปลูกข้าว) ที่ส่งผลต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ ทางชีวภาพและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าว 4 สายพันธุ์ คือ ข้าวสาลี ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมดอกพะยอมและข้าวจมูกดำ ที่เจริญเติบโตในระยะ 8-11 วัน พบว่า ต้นอ่อนข้าวไรซ์เบอรี่ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด 540.01 มิลลิกรัมต่อกรัม และร้อยละ 86.36 ตามลำดับ ในขณะที่วัสดุปลูก คือ แกลบดำรดด้วยน้ำเปล่า มูลไส้เดือนรดด้วยน้ำเปล่า และมูลไส้เดือนรดด้วยน้ำผสมปุ๋ยเคมี ไม่มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ แต่การใช้ปุ๋ยไส้เดือนร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีส่งผลให้ต้นอ่อนข้าวเจริญเติมโตเร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญใบข้าวอ่อนสารประกอบฟีนอลการต้านอนุมูลอิสระปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของใบข้าวอ่อน