อรุณ กุลสิรวิชย์2/12/20232/12/20232012https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/617การศึกษาการปฏิรูปกระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลที่จะนํามาใช้ในการปฏิรูปกระบวนการสอบสวนคดีอาญาให้ได้รูปแบบองค์กรของรัฐ ที่ใช้อํานาจสอบสวนคดีอาญาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล รวมถึงเพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ปฏิรูปกระบวนการสอบสวนคดีอาญา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธี การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ สําหรับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์ เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 1 กลุ่มนักวิชาการด้านอาชญาวิทยา จํานวน 3 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จํานวน 12 คน แบ่งเป็น ผู้พิพากษา 3 คน อัยการ 3 คน ตํารวจ 3 คน และทนายความ 3 คน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญการสอบสวนคดีอาญา จํานวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายที่มีความรู้และประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 10 ปีทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล อัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตํารวจ (รับผิดชอบงานสอบสวน) และประธานทนายความจังหวัด จํานวนทั้งสิ้น 256 คน การศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยการสอบสวนคดีอาญา ไทย กระบวนการการสอบสวนคดีอาญากระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไทย การปฏิรูปการปฏิรูปกระบวนการสืบสวนคดีอาญาของไทย