ดวงเนตร ธรรมกุลรุ่งนภา ป้องเกียรติชัยลัดดาวัลย์ เตชางกูรชญานิศ ชอบอรุณสิทธิ2025-03-182025-03-182024https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5230การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 99 คน และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก จำนวน 118 คน ประจำปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในทั้ง 2 รายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินผลการเรียนรู้ (Course learning outcome) แบบทดสอบความรู้ในรายวิชาศักยภาพการนำฯ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00, 0.67-1.00 และ 0.67-1.00 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินผลการเรียนรู้ และแบบทดสอบความรู้ได้ 0.90 และ 0.65 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการเรียนรู้รายวิชาวิจัยและนวัตกรรม ผลการเรียนรู้ทุกด้าน ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.94, 3.64, 3.73, 3.97, 3.69 และ 91.33, S.D. = 0.47, 0.58, 0.50, 0.47, 0.55 และ 10.13 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, 4.33, 4.35, 4.53, 4.39 และ 106.73, S.D. = 0.29, 0.36, 0.36, 0.40, 0.35 และ 6.20 ตามลำดับ) สำหรับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า ก่อนการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.56, 3.42, 3.46, และ 82.75, S.D. = 0.36, 0.46, 0.46, และ 8.92 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.36, 3.64, S.D. = 0.47, 0.49 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม (x ̅ = 4.25, 4.26, และ 100.53, S.D. = 0.36, 0.40 และ 8.21 ตามลำดับ) ผลการเรียนรู้รายด้านอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (x ̅ = 4.11, 4.12, และ 4.17, S.D. = 0.41, 0.40 และ 0.39 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่าผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 2 รายวิชาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า นักศึกษาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ห้องเรียนกลับด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่า การใช้ห้องเรียนกลับด้านช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ดีขึ้น ดังนั้น การใช้ห้องเรียนกลับด้านสามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดีและเหมาะสมผลการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน วิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ในวิชาวิจัยและนวัตกรรม และศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก