ชนะศึก นิชานนท์2025-03-222025-03-222023-10-10https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5374จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 74 ฉบับที่ 25175 วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กล่าวถึง ในอดีต ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โดยมีบรรยากาศที่เงียบสงบและเต็มไปด้วยกฎระเบียบ แต่เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์ได้จากทุกที่ ทำให้การใช้ห้องสมุดแบบเดิมเริ่มลดความนิยมลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจึงพัฒนาแนวคิด One World Library (OWL) เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต โดยเปลี่ยนพื้นที่ห้องสมุดแบบเดิมให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ครบวงจร รองรับการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านพื้นที่ Co-working Space, Mini Theatre, ห้องประชุม, Library Café และอื่น ๆ โดยมีการออกแบบพื้นที่แยกตามฟังก์ชันเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงพื้นที่อื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ร้านกาแฟ สวนหย่อม และโรงอาหารให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้เรียนในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริงthห้องสมุดการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศOne World Libraryระบบนิเวศการเรียนรู้ศูนย์กลางการเรียนรู้Co-working SpaceLibrary CaféMini Theatreนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพลห้องสมุดแห่งโลกอนาคตArticle