วิสาขา เทียมลม2025-05-062025-05-06https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6593การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาโทรทัศน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาโทรทัศน์ ใน 3 องค์ประกอบคือ การเข้าถึงสาร (Access) การวิเคราะห์สาร (Analyze) และการประเมินสาร (Evaluate) จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีวิทยา (Mixed Methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบการวัดผลการรู้เท่าทันสื่อแบบรูบริคเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากสิ่งที่นักศึกษานำเสนอ ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนการวัดผลการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาโทรทัศน์แบบรูบริค โดยรวมมีคุณภาพของการรู้เท่าทันสื่อในระดับดี ค่าเฉลี่ย 88.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.125 2) กลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และรู้เท่าทันสื่อโฆษณาได้ใน 3 องค์ประกอบ คือ การเข้าถึงสาร(Access) การวิเคราะห์สาร (Analyze) และการประเมินสาร (Evaluate) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในองค์ประกอบที่ 2 การวิเคราะห์สาร (Analyze) ที่กลุ่มนักศึกษาสามารถวิเคราะห์ความหมายที่แฝงมากับโฆษณาได้อย่างลึกซึ้ง เช่น ค่านิยมการให้คุณค่ากับผิวขาว ความผอม และความอ่อนเยาว์ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในสังคมไทยรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยม ซึ่งเปนผลที่เกิดขึ้นในวิถีการผลิตแบบระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ที่ส่งเสริมให้คนในสังคมบริโภคสินค้าที่เกินความจำเป็น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่จะรู้เท่าทันสื่อโฆษณา และสามารถประเมินสารที่สื่อโฆษณานำเสนอได้ แต่ยังมีกลุ่มนักศึกษาจำนวน 1 กลุ่ม ที่เต็มใจจะซื้อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสื่อมวลชนในระบบทุนนิยมได้ประกอบสร้างความจริง หล่อหลอมความคิด ค่านิยมจนกลุ่มนักศึกษาไม่รู้ตัว เนื่องจากวัฒนธรรมบริโภคนิยมนั้นได้แทรกซึมไปในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ค่านิยมที่ให้คุณค่ากับความอ่อนเยาว์และความขาวของผู้หญิงในสังคมไทยสื่อโฆษณา -- วิจัยMedia Literacy DevelopmentAdvertisingThe Health Discousreการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา -- วิจัยการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ -- วิจัยโฆษณา -- วิจัยวาทกรรมเพื่อสุขภาพ -- วิจัยการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิตภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาโทรทัศน์