ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองวิทวัส รัตนถาวรปิยนุช พรมภมรทัศนีย์ พาณิชย์กุลจรัสฟ้า โหมดสุวรรณกัลยาภรณ์ จันตรีอมรรัตน์ สีสุกองอรทัย โกกิลกนิษฐณัติฐพล ไข่แสงศร2025-07-032025-07-03https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7240งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากดอกกล้วยไม้ ช้างกระ อุดร ซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ โดยเปรียบเทียบการสกัด 4 วิธี คือ การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย เอทานอล การสกัดด้วยอัลตราโซนิค การสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวด และการกลั่น พร้อมสกัด ซึ่งกล้วยไม้ช้างกระ และอุดรซันไฌน์มีร้อยละการสกัดสูงที่สุดเมื่อสกัดด้วยการใช้ตัวทำละลาย ส่วนแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้มีร้อยละการสกัดสูงที่สุดเมื่อสกัดด้วยวิธีอัลตราโซนิค สำหรับปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ พบว่า กล้วยไม้อุดรซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ที่สกัด ด้วยวิธีใช้ตัวทำละลายให้ปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงที่สุด ส่วนกล้วยไม้ช้างกระสกัดด้ว อัลตราโซนิคให้ปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงสุด สอดคล้องกับฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การสกัดกล้วยไม้อุดรซันไฌน์ และแคทลียาหว่าหยวนบิวตี้ด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดทั้งวิธี DPPH และ ABTS ส่วนกล้วยไม้ช้างกระสกัดด้วยวิธีอัลตราโซนิคให้ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด การวิเคราะห์สารในกลุ่มฟีนอลิกด้วย HPLC พบว่า สารสกัดกล้วยไม้มีสารในกลุ่มฟีนอลิก 3 ชนิด คือ gallic acid, chlorogenic acid และ caffeic acid และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 5 ชนิด คือ myricetin, luteolin, kaempferol, apigenin และ anthocyanin จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารหอมระเหยด้วย gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) เทคนิค headspace solid phase micro extraction (HS-SPME) ของดอกสดกล้วยไม้ช้างกระ และอุดรซันไฌน์ สารสำคัญที่พบ คือ β-ocimene ให้แนวกลิ่น citrus, tropical, green, terpene และ woody ส่วนแคทลียาหว่าหยวน บิวตี้ สารสำคัญที่พบ คือ p-cresol ให้แนวกลิ่น phenolic การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส คอลลาจิเนส และอีลาสเทส พบว่า การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัลตรา โซนิค และการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวดสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีกว่าการกลั่นพร้อมสกัด และเมื่อทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes) พบว่า สารสกัดกล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิด ที่สกัดด้วยการกลั่นพร้อมสกัดมีฤทธิ์ในการยับยั้งและฆ่าเชื้อ P.acnes ได้สูงที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน CCD-986 SK พบว่า สารสกัดที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัลตราโซนิค และการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะวิกฤติยิ่งยวดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ CCD-986 SK ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดดอกกล้วยไม้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง บำรุงผิว โดยตำรับเครื่องสำอางบำรุงผิวจากสารสกัดดอกกล้วยไม้ช้างกระ และจากสารสกัดดอก กล้วยไม้อุดรซันไฌน์ ถูกนำไปทดสอบความคงตัวภายใต้สภาวะ 4, 25, 35 (เฉพาะต ารับกล้วยไม้อุดร ซันไฌน์) 45 องศาเซลเซียส สภาวะเร่ง (Heating-cooling cycle) และสภาวะแสงส่องผ่าน พบว่า ทุกตำรับมีลักษณะเนื้อครีมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดการแยกชั้น ค่า pH ความหนืด และค่าสีมีการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่มีผลต่อตำรับกล้วยไม้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเครื่องสำอางอุตสาหกรรมเครื่องสำอางการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกล้วยไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบใหม่ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง