เอื้ออารี จันทร2023-10-102023-10-102023-09-08https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/44การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความสามารถในการผลิตสื่อ โดยใช้การเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่กำลังศึกษารายวิชา สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผน การจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการผลิตสื่อ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired sample t-test) สถิติเชิงพรรณา ค่าพัฒนา การสัมพัทธ์ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง สัดส่วนการเรียนแบบออนไลน์ต่อการเรียนแบบออนไซต์ 50 : 50 ผลการประเมินความสามารถในการผลิตสื่อ โดยรวม พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสามารถในการผลิตสื่อก่อนและหลัง พบว่า ภายหลังการเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีทำให้ระดับความสามารถในการผลิตสื่อสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มผู้ที่มีค่าพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงมากที่สุด ส่วนใหญ่เลือกใช้การเสริมศักยภาพด้วยแหล่งเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ มีการปรับปรุงงานตามคำแนะนำ และค้นคว้าข้อมูลเพื่อปรับแก้ไขทุกครั้งที่ได้รับคำแนะนำความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานการเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีการพัฒนาความสามารถในการผลิตสื่อสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้การเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีArticle