รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุลจันทร์แรม เรือนแป้นจันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล2025-05-062025-05-06https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6587งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิจัย ดังนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (รมป.) และ 2) เพื่อประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. และเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์ตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากเอกสารของประเทศไทยและต่างประเทศจำนวน 89 ฉบับ พบว่า ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) สมรรถนะองค์ความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 14 ตัวบ่งชี้ย่อย 2) สมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 ตัวบ่งชี้ย่อย 3) สมรรถนะด้านการสื่อสาร 12 ตัวบ่งชี้ย่อย 4) สมรรถนะด้านการวิจัย ประกอบด้วย 15 ตัวบ่งชี้ย่อย 5) สมรรถนะด้านบริหารจัดการเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 13 ตัวบ่งชี้ย่อย และ 6) สมรรถนะด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ประกอบด้วย 19 ตัวบ่งชี้ย่อย 2. ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ และเครื่องมือวิจัยสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และจากการสำรวจ ความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 120 คน พบว่าตัวบ่งชี้และเครื่องมือวิจัยมีความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) มีความเหมาะสม (Appropriateness) ความเป็นประโยชน์ (Utility) และเหมาะสมในการนำไปใช้ (Application) 3. ผลการประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. ตามมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต เมื่อพิจารณารายตัวบ่งชี้ พบว่า สมรรถนะด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และ 4.20) รองลงมา คือ องค์ความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และ 4.18) ด้านบริหารจัดการเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และ 3.99) สมรรถนะด้านการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 และ 4.01) และสมรรถนะด้านการวิจัย เป็นอันดับสุดท้าย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 และ 3.69) 4. ผลการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. พบว่า โมเดลโค้งพัฒนาการตามสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. ได้แก่ สมรรถนะองค์ความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัย สมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สมรรถนะด้านการสื่อสาร สมรรถนะด้านการวิจัย สมรรถนะด้านบริหารจัดการเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัย และสมรรถนะด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ทั้ง 6 โมเดลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเชิงเส้นตรงเมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นอัตราการพัฒนาการทั้ง 3 ช่วงเวลา พบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้ทั้ง 6 ตัวในช่วงที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากโครงการ รมป. ถึงเดือนมีนาคม 2564 มีค่าตั้งแต่ 0.399 – 0.742 เดือนมีนาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 มีค่าตั้งแต่ 0.055 -0.509 ค่าเฉลี่ยของคะแนนการวัดครั้งแรก (ML) มีค่าตั้งแต่ 3.532 – 4.015 และค่าเฉลี่ยของอัตราการเปลี่ยนแปลง (MS) มีค่าตั้งแต่ 0.341 - 0.805 ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ทุกโมเดล ทั้ง 6 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ครูปฐมวัย -- สมรรถนะการวิจัยประเมินติดตามความเปลี่ยนแปลงสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต