สุภาพร มูฮำหมัดนิศารัตน์ อิสระมโนรส2023-09-302023-09-302021https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/27ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้คนเราต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและเรียนรู้ทักษะต่างๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ทักษะในศตวรรษที่21 เป็นทักษะที่สำคัญที่บุคคลพึงมีเพื่อเตรียมตัวสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน และการดำรงชีวิต ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งในศตวรรษที่ 21 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model สามารถนำมาปรับใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับครูปฐมวัยได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีแนวทาง ได้แก่ 1. ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ครูผู้สอนร่วมมือกับครูปฐมวัยในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแผนที่ยึดโยงกับหลักสูตร 2. ขั้นการเรียนรู้โดยตรง (Active Learning) คือ ครูผู้สอนให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้3. ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) ครูปฐมวัยนำผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากำหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ 4. ขั้นรายงานและนำเสนอ (Reporting) ขั้นนี้จะช่วยให้ครูปฐมวัยได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้5. ขั้นการเผยแพร่ความรู้(Obtain) เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่มีความยั่งยืนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ในบริบทของครูปฐมวัย MACRO model Learning Management in the Context of Early Childhood Teachers