สุรพศ ทวีศักดิ์2025-03-122025-03-122023-06-282697-5157 (Online)https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5109งานวิจัยนี้อยู่บนสมมติฐานว่า ในสังคมพหุวัฒนธรรมมักจะมีความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรม กระแสหลักกับวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย และระหว่างการอ้างเสรีภาพของปัจเจกบุคคลกับการอ้างสิทธิทาง วัฒนธรรมที่เน้นอัตลักษณ์ของกลุ่มทางศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มูลเหตุอาจเกิดจากการที่รัฐไม่ เป็นกลางทางศาสนาและวัฒนธรรม และขาดกระบวนการส่งเสริมความรู้ทางการเมืองและจริยศาสตร์ใน รูปแบบที่เปิดพื้นที่ให้ความคิดและความเชื่อที่แตกต่างและหลากหลายได้สนทนาและแลกเปลี่ยนอย่างเท่า เทียมและเป็นธรรม จึงทำให้ขาดภราดรภาพหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในพันธะต่อการเคารพและ ปกป้องคุณค่าแกนกลางของระบอบประชาธิปไตย ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีพหุวัฒนธรรมแนวเสรีนิยม และ แนวคิดเสรีภาพของนักปรัชญาเสรีนิยม เช่น เบอร์ลิน, มิลล์, คานท์, รอลส์ และเทย์เลอร์มาวิเคราะห์เพื่อ เสนอกรอบคิดบูรณาการเสรีภาพต่างความหมายสนับสนุนภราดรภาพในสังคมประชาธิปไตยที่เน้นการ เคารพเสรีภาพ ความเสมอภาค และความอดกลั้นต่อความแตกต่างและหลากหลายทางวัฒนธรรมthพหุวัฒนธรรมนิยมเสรีนิยมเสรีภาพภราดรภาพการบูรณาการเสรีภาพต่างความหมายเพื่อสนับสนุนภราดรภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม1Integration of Different Meanings of Freedom to Promote Fraternity in Multicultural SocietyArticle