สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต2025-02-222025-02-222024-02-01https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4070สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,203 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) เน้นตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ผลงานของรัฐบาล ผลงานของฝ่ายค้าน พฤติกรรมนักการเมือง สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม ค่าครองชีพ สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมไปถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนน เต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมกราคม 2567 เฉลี่ย 5.48 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน เฉลี่ย 5.77 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ราคาสินค้า เฉลี่ย 5.04 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 51.46 นักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 61.31 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรึงราคาพลังงาน ไฟฟ้า น้ำมัน ร้อยละ 48.38 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การตรวจสอบโครงการต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต แลนด์บริดจ์ ร้อยละ 56.63 จากผลสำรวจดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนผลงานนายกรัฐมนตรีค่อนข้างดี ถึงแม้ผลงานของรัฐบาลในภาพรวมจะได้คะแนนไม่สูงนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ปัญหาราคาสินค้า ความยากจน การทุจริตคอร์รัปชั่น ยาเสพติด การว่างงาน ค่าครองชีพ และปัญหาเศรษฐกิจโดยภาพรวม โดยคะแนนด้านสิทธิเสรีภาพมาเป็นอันดับ 1 เนื่องจากเห็นว่ามีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น สังคมให้ความสำคัญกับความเสมอภาคมากขึ้น รวมถึงมีการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ส่วนฝ่ายค้านโดดเด่นในการตรวจสอบงานโครงการของรัฐบาลที่นับว่าสร้างมาตรฐานได้ดีในแง่ของการทำงานเชิงข้อมูลthดัชนีการเมืองความคิดเห็นความเชื่อมั่นการเมืองไทยรัฐบาลฝ่ายค้านสวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิตsuandusitpollSUANDUSITUNIVERSITYผลการสำรวจ : “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนมกราคม 2567Other