จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ปณิศา มีจินดา2025-04-012025-04-012022https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5818การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อม และสร้างแผนธุรกิจเพื่อบุกเบิกการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยทางการตลาดในการพัฒนานวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัล และตราเมือง/ตราผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างสรรค์หลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และผู้ประ กอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรมโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูล และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง จากการศึกษาความเป็นไปได้ของการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เป็นการท่องเที่ยวขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการพัฒนา ซึ่งผลการวิจัยนี้ถูกใช้ในการพัฒนาแผนธุรกิจเพื่อบุกเบิกการประกอบการการท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ส่วนผลการวิจัยเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ 2 ชี้ให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยว คุณค่าตราของแหล่งท่องเที่ยว และการรับรู้ต่อคุณสมบัตินวัตกรรม ส่งผลต่อปัจจัยด้านความพึงพอใจ และความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว การยอมรับสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณถูกใช้ในการพัฒนาแผนนวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัลและการสร้างตราเมือง/ตราผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ส่วนผลการวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ความต้องการในการฝึกอบรมของทั้ง 3 หลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยของทั้ง 3 การศึกษาได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรม ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวการบริหารธุรกิจการท่องเที่ยวขนาดย่อมนวัตกรรมการสร้างสรรค์สมรรถนะบุคลากรและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดย่อมผ่านการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าจากการฝึกอบรม โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)