สังวาลย์ ชมภูจาอรรถ ขันสีศศิธร รณะบุตร2025-05-162025-05-16https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6743การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการเรียนของวิชา การประกอบอาหารไทยท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอน Contract inquiry and activity based learning: CIA และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA ในวิชาการประกอบอาหารไทยท้องถิ่น ประชากรคือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการชั้นปี 3 จํานวน 16 คน คณะโรงเรียนการเรือนที่ลงทะเบียนวิชาการประกอบอาหารไทยท้องถิ่น ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2563 และตอบแบบสอบถามครบถ้วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA แบบประเมินผลลัพธ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผลลัพธ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ชั้น ปี 3 ที่มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA มีคะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์ทางการเรียนรวม เท่ากับ 4.53 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.78 มีผลลัพธ์ทางการเรียนระดับดีมาก 2. ผลความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ชั้นปี 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA พบว่า ภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 มีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.77 คําสําคัญ : CIA, ผลลัพธ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนผลลัพธ์ทางการเรียนการเรียนการสอน -- ความพึงพอใจCIAผลของการออกแบบแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Contract inquiry and activity based learning: CIA ที่มีต่อผลลัพธ์ทางการเรียนในรายวิชา การประกอบอาหารไทยท้องถิ่นของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ชั้นปีที่ 3