บรรพต พิจิตรกำเนิดเนื้ออ่อน ขรัวทองเขียวฐิติยา เนตรวงษ์2025-05-202025-05-202024-05-02วารสารห้องสมุด, ปีที่ 68 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2567), หน้า 49-60.https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6786งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัล และนักวิชาการด้านงานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 416 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) คลังภูมิปัญญาดิจิทัลจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการสงวนรักษาในรูปแบบดิจิทัล 2) แบบประเมินคลังภูมิปัญญาดิจิทัล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานคลังภูมิปัญญาดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินคุณภาพคลังภูมิปัญญาดิจิทัล ด้านเนื้อหามีคุณภาพในด้านความถูกต้อง ความสมบูรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา ปริมาณของเนื้อหา การใช้ภาษา และภาพประกอบ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านการออบแบบและการจัดรูปแบบคลังภูมิปัญญาดิจิทัลภาพรวม และด้านประโยชน์และการนำไปใช้ภาพรวมอยู่ในระดับมากthคลังภูมิปัญญาดิจิทัลการสงวนรักษาการเผยแพร่สารสนเทศจิตรกรรมฝาผนังการพัฒนาคลังภูมิปัญญาดิจิทัลเพื่อการสงวนรักษาและเผยแพร่สารสนเทศ: กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรีArticle