พรพรรณ บัวทองเขมภัทท์ เย็นเปี่ยม2025-03-222025-03-222025-03-09https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5318สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 1,227 คน ระหว่างวันที่ 4–7 มีนาคม 2568 พบว่า ประชาชนมองว่า "เกมการเมือง" มีลักษณะเด่นคือ การแบ่งตำแหน่งทางการเมือง การเอื้อประโยชน์ต่อนายทุน และการโยกย้ายข้าราชการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ในรัฐบาลแพทองธาร ประชาชนชี้ว่าการโจมตี ปล่อยข่าวปลอม และการซื้อเสียง คือรูปแบบของเกมการเมืองที่เห็นได้ชัดเจน ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.77) เห็นว่าเกมการเมืองเป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย เพราะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในทุกยุคสมัย และร้อยละ 42.95 เชื่อว่าเกมการเมืองเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังมีผู้เห็นด้วยร้อยละ 79.63 ว่าเกมการเมืองทำให้ประเทศล้าหลัง นางสาวพรพรรณ บัวทอง - ประธานสวนดุสิตโพล คนไทยส่วนใหญ่รับรู้และคุ้นชินกับ “เกมการเมือง” ที่วนเวียนอยู่กับการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ประชาชนคาดหวังให้การเลือกตั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แต่กลับต้องเผชิญกับพฤติกรรมซ้ำซากในรูปแบบใหม่ที่กลายเป็น “ปกติใหม่” ซึ่งไม่ควรถือเป็นเรื่องปกติ เธอเสนอว่าการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนจำเป็นต้องลดเกมการเมืองลง และเพิ่มการทำงานที่จับต้องได้ เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจในการเมืองไทยและการบริหารประเทศอย่างแท้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม - อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง เกมการเมืองในประเทศไทยคือการแย่งชิงอำนาจเพื่อจัดสรรผลประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง มากกว่าที่จะกระจายผลประโยชน์ให้ประชาชน เขาชี้ว่า ประชาชนต้องการเห็นการแข่งขันกันด้วยนโยบายที่ชัดเจนและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ใช่เพียงการแก้เกมเพื่อรักษาอำนาจ การเมืองที่เน้นการหักหลังและต่อต้านฝ่ายตรงข้ามอย่างเป็นระบบ ทำให้ประเทศล้าหลังทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาการเมืองอย่างยั่งยืน สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือการเมืองที่มีเป้าหมายเพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่ออำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งthเกมการเมืองผลประโยชน์ทางการเมืองการโจมตีทางการเมืองข่าวปลอมดิสเครดิตการแบ่งตำแหน่งซื้อเสียงความล้าหลังทางการเมืองการพัฒนาประเทศความไว้วางใจประชาชนการแข่งขันเชิงนโยบายสวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเกมการเมืองไทย ณ วันนี้Other