ดุษฎี ดวงมณีประภัสสร เสงี่ยมกุลถาวร2025-02-042025-02-042023-09https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2735บทนำ: การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงของการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาต้องปรับตัวในการศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ โดยพึงให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ที่ถูกต้องและเหมาะสม วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ตามแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา แบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlation research) เก็บข้อมูลในนักศึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร จำ นวน 222 คน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2566 โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา .89 และ .92 และมีความความเชื่อมั่น .92 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ในระดับสูง และ 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในระดับสูง (r = .601, p <.05) สรุปผล: ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบหลังการระบาด COVID-19 ในสถานศึกษา เพื่อการจัดบริการสุขภาพ สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพthความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ชีวิตวิถีใหม่ นักศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ตามแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษา สังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานครArticle