เจนจิรา พูลสุข2/12/20232/12/20232019https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/679การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้รูปแบบการพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรม โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ซึ่งศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญรวมทั้งสิ้น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม จํานวนทั้งสิ้น 24 คน คือ กลุ่มผู้บริหารนโยบายด้านยุติธรรมชุมชน ผู้ปฏิบัติงานยุติธรรมชุมชน เจ้าหน้าที่สํานักงานยุติธรรมจังหวัด นักวิชาการด้านยุติธรรมชุมชน บุคลากรในหน่วยงาน กระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรมชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรมชุมชน สําหรับ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประชากรคือคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนทั่วประเทศ จํานวนทั้งสิ้น 320 คน เมื่อสังเคราะห์ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้รูปแบบการสร้างความยั่งยืนของ ระบบงานยุติธรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรม ผู้วิจัยได้นํามาจัดทําเป็น Model โดยใช้ชื่อว่า “Leadership Model” ซึ่งประกอบด้วย Leader หมายถึง ผู้นําชุมชนต้องสามารถเข้าถึงประชาชน สามารถเป็นผู้นําในการกําหนดนโยบายของชุมชนตนเองได้มีประสิทธิภาพ Equity หมายถึง ควรสร้าง ความเป็นธรรมและความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในการทํางานของศูนย์ยุติธรรมชุมชน Approach หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชน Development หมายถึง การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการจัดทําระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ Empowerment หมายถึง การให้พลังแก่ชุมชนในการขับเคลื่อนความยุติธรรม Restoration หมายถึง การสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์ในพื้นที่ Stability หมายถึง การสร้างความมั่นคงยั่งยืนโดยยึดหลักความเป็น มิตรภาพของประชาชนในการสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ High Responsibility หมายถึง ควรส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรับผิดชอบและให้ความสําคัญกับยุติธรรมชุมชน Integration หมายถึง การบูรณาการแก้ไขปัญหาและอํานวยความยุติธรรมโดยการร่วมมือกันของทุกส่วนราชการต่าง ๆ ในพื้นที่ People หมายถึง การกําหนดให้ประชาชนในชุมชนเป็นหลักในการทํางานยุติธรรมชุมชนยุติธรรมชุมชนกระทรวงยุติธรรมรูปแบบการพัฒนาระบบงานยุติกรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรม