อรอนงค์ นุเสน2025-02-072025-02-072019-06-07วพ LC4015 อ327 ก6 2562https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2884วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย วิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ประชากรที่ศึกษา คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ระหว่างเรียนและหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.38/80.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับ หูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ หลังได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญาสูงกว่าก่อนได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญาเด็กบกพร่องทางการได้ยินการเรียนและการสอนพหุปัญญาการศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเซต โดยวิธีการสอนที่แตกต่างกันตามความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนที่มี่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4Thesis