ศศิพร ต่ายคำศุภพล กิจศรีนภดลสุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี2025-07-032025-07-03https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7255การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน และ (2) พัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน โดยวิธีการเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด (Criterion sampling) พบว่า กระบวนการสร้างแบรนด์ของวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปผลไม้ไม่เป็นไปตามแนวคิดการสร้างแบรนด์ ปัญหาการสร้างแบรนด์ของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้การสร้างแบรนด์ ขาดความรู้การสร้างแบรนด์ ขาดงบประมาณการสร้างแบรนด์ และลักษณะของวิสาหกิจชุมชนที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา (2) การพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน มีองค์ประกอบเชิงกระบวนการ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่าย ความรู้ ผู้รู้ และงบประมาณ (2.2) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ทุนชุมชน การบริหารจัดการ การผลิต ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารภายในองค์กร (2.3) กระบวนการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน 7 ขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์ SWOT และ STP การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ การทดสอบตลาด การสื่อสารแบรนด์ และการประเมินผลแบรนด์ และ (2.4) ผลลัพธ์ รูปแบบผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบกับผู้ร่วมวิจัยหรือกลุ่มทดลอง โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposeful sampling) จำนวน 1 กลุ่ม ตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนด พบว่า ผู้บริโภครับรู้แบรนด์ของกลุ่มทดลองผ่านการจัดแสดงสินค้าและสิ่งบ่งชี้แบรนด์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เกิดการพัฒนาแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคระดับบน ส่งออกไปยังประเทศจีนและจำหน่ายในต่างประเทศวิสาหกิจการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปการพัฒนารูปแบบการสร้างแบรนด์ผลไม้แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน