สุวมาลย์ ม่วงประเสริฐศิโรจน์ ผลพันธินสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์จิร์ยาภรณ์ ศรีบุญรอด2025-04-012025-04-012022https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5828การเรียนการสอนออนไลน์เป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการบูรณาการระบบเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนทั้งการสอนของผู้สอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ และ 3) แนวทางการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ทำการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (กรุงเทพมหานคร) ชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 377 คน ทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม โดยใช้แบบข้อคำถามการสนทนากับนักศึกษา จำนวน 4 กลุ่ม และผู้สอนหรือผู้กำกับดูแลระบบออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 1 กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบจากการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ มีดังนี้ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.92, S.D. = 0.669) อันดับแรกคือ กระบวนการ รองลงมาคือ ปัจจัยนำเข้า ประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ และสุดท้ายคือ ประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ มีรายละเอียดดังนี้ 1.1) ปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.99, S.D. = 0.618) อันดับแรกคือ สาระของรายวิชา (การประเมินผลการเรียนรู้ในการเรียนออนไลน์ เนื้อหารายวิชา สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ กลยุทธ์การสอนออนไลน์ โครงสร้างรายละเอียดของรายวิชา ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก) รองลงมาคือ ผู้สอน และบุคลากรสนับสนุน และสุดท้ายคือ เทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ 1.2) กระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.01, S.D. = 0.637) อันดับแรกคือ การให้ข้อเสนอแนะ/ความช่วยเหลือกับผู้เรียนออนไลน์ รองลงมาคือ การสนับสนุนแรงจูงใจให้กับผู้เรียนออนไลน์ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในการเรียนออนไลน์ วิธีการส่งมอบความรู้ของผู้สอนในการเรียนออนไลน์ และสุดท้ายคือ การเข้าถึงและความสะดวกของเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ 1.3) ประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.85, S.D. = 0.847) อันดับแรก คือ นักศึกษาใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่ากับการลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน รองลงมาคือ อาจารย์ผู้สอนมีกลยุทธ์การสอนที่หลากหลายมีการติดตามการเรียนรู้ การให้คำแนะนำ และการช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และสุดท้าย คือ นักศึกษามีความพึงพอใจกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 1.4) ประสิทธิผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.82, S.D. = 0.787) อันดับแรกคือ การบรรลุจุดมุ่งหมายด้านการเรียนการสอน รองลงมาคือ การเรียนรู้ออนไลน์ และสุดท้ายคือ บรรยากาศการเรียนรู้ออนไลน์ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ มีดังนี้ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ค่า Kaiser-Meyer-Olkin Measure (KMO) มีค่ามากกว่า 0.50 และเข้าใกล้ 1 ผลการทดสอบ Bartlett's Test of Sphericity มีค่าทางสถิตอย่างมีนัยสำคัญ (Sig.<0.05) ผลการทดสอบ พบว่า ในทุกปัจจัยมีค่า Significant น้อยกว่า 0.05 ดังนั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีรายละเอียดดังนี้ 2.1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย เทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ ผู้สอน และบุคลากรสนับสนุน และสาระของรายวิชา ได้แก่ โครงสร้างรายละเอียดของรายวิชา เนื้อหารายวิชาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ กลยุทธ์การสอนออนไลน์ และการประเมินผลการเรียนรู้ในการเรียนออนไลน์ 2.2) ปัจจัยด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การเข้าถึงและความสะดวกของเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ วิธีการส่งมอบความรู้ของผู้สอนในการเรียนออนไลน์ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในการเรียนออนไลน์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน ในการเรียนการสอนออนไลน์ การให้ข้อเสนอแนะ/ความช่วยเหลือกับผู้เรียนออนไลน์ และการสนับสนุนแรงจูงใจให้กับผู้เรียนออนไลน์ 2.3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การเรียนการสอนออนไลน์ทำให้นักศึกษาจัดการเวลาเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและวางแผนการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เสร็จตรงเวลาได้ นักศึกษามีความพึงพอใจกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ทำให้อาจารย์ผู้สอนมีกลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย มีการติดตามการเรียนรู้ การให้คำแนะนำ และการช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนออนไลน์มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับวิธีการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบเดิม เพราะช่วยลดต้นทุนการเดินทาง ที่พัก และสื่อการเรียนการสอน และนักศึกษาใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่ากับการลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ 2.4) ปัจจัยด้านประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การบรรลุจุดมุ่งหมายด้านการเรียนการสอน บรรยากาศการเรียนรู้ออนไลน์ และการเรียนรู้ออนไลน์ 3) แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ มีดังนี้ 3.1) อาจารย์ผู้สอนต้องได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีและนำไปใช้ในการสอนให้เต็มศักยภาพ และผู้เรียนต้องได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ 3.2) รายวิชาที่ผู้เรียนเรียนทุกหลักสูตรควรมีเนื้อหาที่ทันสมัย รวมถึงมีการกำหนดเนื้อหาทฤษฎีและเนื้อหาการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อทำให้นักศึกษาสามารถจัดแนวทางการเรียนรู้และการฝึกฝนของตนเองได้ 3.3) เมื่อผู้เรียนส่งงานที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมายแล้ว อาจารย์ผู้สอนควรให้คำแนะนำข้อมูลป้อนกลับอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้เรียนปรับแก้ไขได้ทันเวลา 3.4) การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในการเรียน และการทำงานที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมายและส่งตรงตามกำหนดเวลา 3.5) อาจารย์ผู้สอนควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ใจดี และต้องใจเย็น รักษาอารมณ์ในการสื่อสารกับผู้เรียน และควรใช้คำพูดที่ไม่กระทบความรู้สึกของผู้เรียนการเรียนการสอนออนไลน์การเรียนการสอนผ่านเว็บประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต