เอกรัฐ เผ่าพงศ์ประเสริฐ2025-02-242025-02-242022-06-16https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4178หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายปกครองและการบริหารงานภาครัฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด เหตุผลของศาล หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย ลักษณะคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่า มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง 2) พิจารณาความแตกต่างของคำสั่งลงโทษพนักงานในอุดมศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาหรือพนักงานในอุดมศึกษา และ 3) เสนอแนะแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง คำพิพากษา และคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและทำการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยมีดังนี้ ประการแรกแนวคิดของศาลในการวินิจฉัยลักษณะคดีคือ กระบวนการเริ่มต้นอันเป็นที่มาของการออกคำสั่งลงโทษ และเหตุที่อ้างของผู้ถูกฟ้องคดีในการเริ่มต้นกระบวนการ ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายภายใน หรืออ้างสิทธิตามสัญญาจ้างพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับลักษณะของคำสั่งทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง ประการที่สองแนววินิจฉัยของศาลปกครองกรณีมีคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิของพนักงานโดยตรง เนื่องจากอาจเกิดความสับสนทั้งขณะอยู่ในกระบวนการการดำเนินการทางวินัยและขั้นตอนก่อนฟ้องคดี และส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาในแง่ของการดำเนินการออกคำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประการสุดท้ายแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานให้ยึดถือรูปแบบการดำเนินการทางวินัยโดยต้องมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดthคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาคำสั่งทางปกครองสัญญาทางปกครองวิเคราะห์คำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่ามีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง