การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

dc.contributor.authorเอมอร ปันทะสืบ
dc.date.accessioned2025-05-06T07:02:41Z
dc.date.available2025-05-06T07:02:41Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาศาสตร์พระราชากับการศึกษาปฐมวัย ตอนเรียน LA จำนวน 12 คน ซึ่งได้ทำงานวิจัยในรูปแบบงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศาสตร์พระราชากับการศึกษาปฐมวัย โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Cornell Critical Thinking Test Level X) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณเท่ากับ 32.67 และ 47.50 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 5.82 และ 6.04 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น สามารถเรียนรู้จากบริบทจริง ตลอดสามารถให้เหตุผลและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดได้
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6615
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
dc.subjectทักษะการคิด
dc.titleการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3624
Files
Collections